โทร :

084 654 6265

เวลาทำการ

ทุกวัน 10.00 น. - 20.00 น.

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ฟันน้ำนมนั้นมีความสำคัญอย่างไร

การดูแลรักษาฟันน้ำนมเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากฟันน้ำนมช่วยในการบดเคี้ยวอาหารและรักษาช่องว่างไว้สําหรับฟันแท้นอกจากนี้ยังช่วยในการออกเสียงและให้ความสวยงาม ฟันน้ำนมนั้นจะค่อยๆ ทยอยหลุดออกและมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ตั้งแต่เด็กมีอายุ6 ปี จนกระทั่งอายุ12‐13 ปี ฟันแท้ก็จะขึ้นครบ หากมีปัญหาเกิดขึ้นกับฟันน้ำนม เช่น มีฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันแล้วปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่รักษา เด็กก็จะปวดฟัน เป็นหนองบริเวณปลายรากฟัน และอาจลุกลามกลายเป็นการติดเชื้อบริเวณอวัยวะข้างเคียง  รวมทั้งอาจมีผลทําให้การสร้างของหน่อฟันแท้ที่อยู่ ข้างใต้ผิดปกติไป นอกจากนั้นหากเราปล่อยให้ฟันผุลุกลามจนไม่สามารถรักษาได้  จำเป็นต้องถอนฟันน้ำนมออกก่อนเวลา อันควร ก็จะทำให้ เกิดที่ว่างสำหรับฟันแท้ที่จะขึ้นนั้นเล็กลง ทำให้เกิดการซ้อนเกของฟันแท้ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ต้องคอยดูแลรักษาฟันน้ำนมของลูกให้ดีเพื่อให้ฟันน้ำนมแต่ละซี่หลุดไปตามอายุที่สมควร

ทำอย่างไรลูกจึงมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กควรเป็นคนทําความสะอาดฟันให้จนกระทั่งเด็กอายุ 6 ปี โดยทําทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตั้งแต่แรกเกิด โดยการเช็ดในช่องปาก บริเวณเหงือกเพดาน และลิ้นด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด เพื่อให้เด็กทารกเคยชินกับการให้ผูใหญ่ทําความสะอาดในช่องปากเมื่อเริ่มมีฟันขึ้นให้ใช้แปรงสีฟันร่วมกับการเช็ดด้วยผ้าและควรแปรงทั้งด้านนอกและด้านในของฟัน บริเวณที่ต้องไม่ลืมทําความสะอาดในเด็กเล็กที่ฟันเพิ่งขึ้นก็คือด้านในของฟันหน้าบน เนื่องจากบริเวณนี้มักจะมีคราบนมติดอยู่และน้ำลายชะล้างไม่ถึง  มักจะเกิดฟันผุได้ง่ายเมื่อเด็กหยิบจับของได้ เด็กอาจจะต้องการแปรงเอง  ผู้ปกครองก็อาจจะให้เด็กได้ฝึกขยับแปรงถูไปมา แต่หลังจากนั้นผู้ปกครองก็ควรแปรงซ้ำใหม่ให้สะอาดอีกครั้งหนึ่งด้วยและควรทําให้ได้เป็นกิจวัตรทุกวันไม่ให้ขาด  เพื่อแสดงให้เด็กเห็นว่าการทําความสะอาดฟันนั้นมีความสําคัญ แล้วเด็กก็จะเคยชินติดเป็นนิสัยไปจนโต นอกจากการแปรงฟันแล้วควรจะใช้ ไหมขัดฟันร่วมด้วย เมื่อมีฟันขึ้นชิดกันเพื่อให้ทําความสะอาดได้หมดจดในซอกฟัน

เมื่อเด็กอายุมากกว่า  6 ปี ผู้ปกครองก็ควรควบคุมดูแลให้เด็กแปรงฟันเองอย่างใกล้ชิด และ คอยตรวจความสะอาดของฟันและลิ้นทุกวันก่อนนอนนอน หากพบว่าเด็กแปรงฟันไม่สะอาด ผู้ปกครองก็ควรแปรงซ้ำให้สะอาดทันทีและใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการทําความสะอาดที่ดีแล้ว  เด็กควรได้รับฟลูออไรด์เสริม เพื่อให้เคลือบฟันแข็งแรง ฟลูออไรด์ที่ใช้นั้นมีหลายรูปแบบ  เช่น ยาเม็ดฟลูออไรด์โดยปริมาณฟลูออไรด์ ที่ให้รับประทานขึ้นกับปริมาณฟลูออไรด์ ในน้ำดื่มที่เด็กดื่มเป็นประจําและอายุของเด็ก ดังนั้นควรจะปรึกษาทันตแพทย์ก่อนตัดสินใจให้ลูกรับประทานฟลูออไรด์เสมอ การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่แนะนําให้ใช้ โดยในเด็กเล็กให้ใช้ในปริมาณน้อย  (แค่เปียกขนแปรงเล็กน้อย) แล้วเช็ดฟองออก ถ้าเด็กยังไม่สามารถบ้วนน้ำได้เมื่อเด็กอายุ 3 – 6 ปี ให้ ใช้ยาสีฟันเท่าเมล็ดถั่วเขียว  เมื่อแปรงฟันเสร็จให้บ้วนน้ำออกเล็กน้อย (1‐2ครั้ง) สําหรับเด็กอายุ6 ปีขึ้นไปสามารถใช้ยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 1000ส่วนในล้านส่วนของผู้ใหญ่ได้นอกจากนั้น การใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่แนะนําให้ใช้ในเด็กที่อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป หรือเด็กที่ควบคุมการกลืนได้และผู้ปกครองมั่นใจว่าน้องจะไม่กลืนน้ำยาเข้าไป

การไปพบทันตแพทย์เพื่อขัดฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ ก็เป็นการใช้ฟลูออไรด์ชนิดเข้มข้น  เพื่อให้มีการดูดซึมเข้าในผิวเคลือบฟันที่เริ่มมีการสูญเสียแร่ธาตุ ก็สามารถป้องกันฟันผุได้ผลดีเช่นกัน  ทั้งนี้ความถี่ในการไปพบทันตแพทย์ขึ้นกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุของเด็กแต่ละคน  ซึ่งทันตแพทย์เป็นผู้ประเมินและแนะนํา จะเห็นว่าการใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุในปัจจุบันนั้น  เน้นที่ผลเฉพาะที่ของฟลูออไรด์นั่นคือการที่ฟลูออไรด์ได้สัมผัสกับผิวฟัน  ทําให้เกิดการคืนกลับของแร่ธาตุใหม่ของผิวฟัน  หากได้ รับฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้นต่ำๆ และได้รับบ่อยๆก็จะทําให้การป้องกันฟันผุมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นความสําคัญในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กๆนั้น จึงอยู่ที่การดูแลรักษาที่บ้าน โดยผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเป็นหลัก

การดูแลให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทําให้เกิดฟันผุก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูกได้ ควรจัดอาหารที่มีรสธรรมชาติและไม่เติมน้ำตาล ให้รับประทานอาหารมื้อหลักและอาหารว่างให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานทานขนมจุบจิบจําพวกลูกอม ช็อกโกแลต ที่เหนียวติดฟันระหว่างมื้ออาหาร เนื่องจากทุกครั้งที่เรารับประทานอาหารที่มีรสหวาน เชื้อโรคในช่องปากก็จะย่อยน้ำตาลเหล่านั้น  แล้วเกิดกรดทําให้ช่องปากของเราเปลี่ยนสภาพเป็นกรด ซึ่งกรดนี้จะทําให้เกิดการละลายแร่ธาตุจากผิวเคลือบฟันออกไป หากรับประทานวันละหลายๆครั้งก็ทําให้ เคลือบฟันถูกละลายอยู่ตลอดเวลา ไม่ทันได้ดูดซึมแร่ธาตุกลับคืนไป ก็จะทําให้เกิดฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูก

เกี่ยวกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง บอกสาเหตุของการเกิดฟันผุให้ลูกทราบ และพยายามไม่ซื้อขนมและของขบเคี้ยวให้ลูก สอนให้ลูกรับประทานผักและผลไม้หรออาหารว่างอื่นๆที่ไม่ทำให้เกิดฟันผุ  ควรเริ่มสอนตั้งแต่เล็กๆและสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานอาหารเป็นเวลา เด็กๆควรดื่มนมรสจืด ปัจจุบันมีนมหลากหลายรูปแบบ และรสชาติ คุณพ่อคุณแม่ที่เห็นลูกไม่ค่อยดื่มนม จึงพยายามเอานมที่มีรสชาติต่างๆมาหลอกล่อให้เด็กดื่ม นมที่มีรสชาติหวานๆเหล่านี้มักมีน้ำตาลสูง รวมทั้งนมเปรี้ยวก็เป็นนมที่มีปริมาณน้ำตาลสูงเช่นกัน  ดังนั้นหากน้องสามารถดื่มนมรสจืด ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุผู้ครองควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น การพาเด็กไปพบทันตแพทย์เป็นประจําเพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจฟันน้องอย่างละเอียดร่วมกับการถ่ายภาพรังสีเพื่อตรวจหาฟันผุเพื่อเฝ้าระวังรอยผุที่อาจเกิดขึ้นบริเวณซอกฟัน เมื่อตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆและรีบรักษาก็เป็นการป้องกันกันไม่ให้เกิดฟันผุลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน นอกจากนั้น ทันตแพทย์ จะแนะนําเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟัน การทําความสะอาดฟัน ในแต่ละวัย ประเมินความเสี่ยงในการเกิดฟันผุปริมาณฟลูออไรด์ที่ควรได้รับ และควรพบทันตแพทย์เป็นระยะ 3‐6 เดือน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการเกิดฟันผุของแต่ละคน การป้องกันไม่ให้เด็กได้รับเชื้อโรค ที่ก่อให้เกิดฟันผุ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สําคัญเช่นกัน เนื่องจากเชื้อโรคที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทําให้เกิดโรคฟันผุมักจะมาจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดกับเด็ก ดังนั้นจึงควรแยกช้อนและแก้วน้ำของเด็กเป็นส่วนตัว

ไม่ควรชิมอาหารโดยใช้ช้อนที่ป้อนเด็ก หรือเคี้ยวอาหารให้เด็ก หากระมัดระวังในเรื่องเหล่านี้และสร้างเป็นนิสัยให้เด็กตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะส่งผลดีกับการป้องกันการติดเชื้อโรคชนิดอื่นๆอีกมากมายด้วย จะเห็นว่าโรคฟันผุนั้นเป็นโรคที่ป้องกันได้ เพียงเราเอาใจใส่และให้ความสําคัญ และต้องคํานึงเสมอว่า เชื้อโรคทํางานตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด และจะเพิ่มจํานวนมากขึ้นในเวลาที่เราหลับ หากเราปล่อยเศษอาหารทิ้งไว้ไม่ทำความสะอาดก่อนนอน ก็จะเพิ่มโอกาสในการเกิดฟันผุมากขึ้น และเมื่อทําความสะอาดดีแล้วการให้ฟลูออไรด์เข้าไปเสริมความแข็งแรงของฟัน ก็จะทําให้ฟันนั้นทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดที่เชื้อโรคสร้างขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลสุขภาพฟันของลูกอย่างดีก็ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่ออุดฟัน รักษารากฟัน  ลูกน้อยก็ไม่ต้องเจ็บปวดกับการทำฟันและจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพฟันดีโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในเรื่องการทําฟันมากมาย